องค์เทพเห้งเจีย แห่งศาลไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หรือ ที่รู้จักกันดีในชื่อ ซุนหวูคง ในภาษาจีนกลาง ซุนหงอคง ในภาษาจีนแต้จิ๋ว เป็นบุคคลในตํานานที่รู้จักกันดีที่สุดว่าเป็นเทพเจ้าลิง จากตำนานนในสมัยราชวงศ์ซ่ง ว่าเห้งเจีย เป็นเทพเจ้าลิงที่เกิดจากหินที่ได้รับพลังเหนือธรรมชาติผ่านการปฏิบัติของลัทธิเต๋า หลังจาก องค์เทพเห้งเจีย กบฏต่อสวรรค์ องค์พระพระพุทธเจ้าขังเห้งเจียให้อยู่ใต้ภูเขาเพื่อฝึกนิสัย โดยหลังจากห้าร้อยปี พระถังซานซาง หรือ พระถังซัมจั๋ง ได้ปลดปล่อย เห้งเจีย และพากันจาริกมาเดินทางไปชมพูทวีป หรือ ประเทศอินเดียพร้อมสานุศิษย์อีก 2 คนเพื่อนำเอาสุดตราพระพุทธศาสนาจากอินเดียมาเผยแพร่ในประเทศจีนได้สำเร็จโดยผ่านอุปสรรคนานาทั้งปวงอย่างไม่ย่อท้อ
1. บูชาเทพเจ้า เห้งเจีย แห่งศาลไต่เสี่ยฮุกโจ้ว ขอพรให้ผ่านพ้นอุปสรรค
จากตำนานความเชื่อที่ องค์เทพเห้งเจีย เป็นผู้มีความพยายาม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง ดังนั้นจึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้คนพากันบูชาเทพเจ้าเห้งเจีย แห่งศาลไต่เสี่ยฮุกโจ้ว โดยถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความเพียรพยายาม เทพเจ้าเห้งเจีย จะช่วยอำนวยพรในด้านการค้า การงาน และความสำเร็จ องค์เทพเห้งเจีย จะช่วยให้ผู้เคารพบูชา ผ่านพ้นอุปสรรค จึงได้เกิดเป็นการสร้างศาลเจ้าของ องค์เทพเห้งเจีย หรือศาลเจ้าไต่เสี่ยฮุกโจ้ว เพื่อให้ผู้ศรัทธามากราบไหว้เคารพบูชา
2. เปิดพิกัดบูชาเทพเจ้าเห้งเจีย ให้ผ่านพ้นอุปสรรค องค์เทพเห้งเจีย
สำหรับผู้มีใจศรัทธาเลื่อมใสนั้น พิกัดบูชาเทพเจ้าเห้งเจีย ให้ผ่านพ้นอุปสรรค ก็จะต้องไม่พลาดศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย หรือศาลองค์เทพเห้งเจีย หรือศาลไต่เสี่ยฮุกโจ้ว แห่งวัดสามจีน เยาวราช กรุงเทพฯ โดยวัดสามจีนนั้น เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เนื่องด้วย มีชาวจีนอพยพ 3 คน ร่วมแรงร่วมใจ สร้างวัดนี้ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล ประกอบกิจทางศาสนาในนิกายมหายาน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้ในหลวงรัชกาลที่ 2
ซึ่งในภายหลัง เป็นที่รู้จักกันในชื่อวัดไตรมิตรนั่นเอง โดยศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย หรือศาลองค์เทพเห้งเจีย หรือศาลไต่เสี่ยฮุกโจ้ว จะเป็นที่ประดิษฐ์ของ องค์เทพเห้งเจียปางอรหันต์ โดยเจ้าพ่อเห้งเจีย จะนั่งขัดสมาธิบนดอกบัว ที่แกะสลักจากไม้มงคล ลงรักปิดทองโบราณ อายุหลายร้อยปี และถือเป็นองค์เทพเห้งเจียองค์แรกในประเทศไทย โดยทุกวันที่ 13 กันยายน ทางศาลเจ้าเห้งเจีย ศาลไต่เสี่ยฮุกโจ้ว จะประกอบพิธีบวงสรวง เพื่อให้ท่านองค์เทพเห้งเจียลงมารับเครื่องบูชา และโปรดเมตตาต่อผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย
อ่านบทความเพิ่มเติม
https://tham-boon.com/
เครดิตภาพ